top of page

การเสริมเต้านมด้วยการใช้เนื้อเยื่อของตัวเอง (การผ่าตัดเสริมเนื้อเยื่อ)

การผ่าตัดเสริมเนื้อเยื่อ (เรียกอีกอย่างว่า การเสริมสร้างโดยใช้เนื้อเยื่อของตัวเอง) เป็นวิธีหนึ่งในการสร้างรูปทรงของเต้านมใหม่ ทำหลังการผ่าตัดเพื่อเอามะเร็งออก เหมือนกับการผ่าตัดทุกรูปแบบ คนไข้ที่ทำการผ่าตัดเสริมเต้านมควรเรียนรู้ถึงของข้อดีและความเสี่ยงที่เป็นไปได้ให้มากเท่าที่มจะทำได้ และปรึกษาเรื่องนี้กับแพทย์ของคุณก่อนการผ่าตัด
 

วิธีพวกนี้จะใช้เนื้อเยื่อจากส่วนอื่นของร่างกายคุณ เช่น ท้อง หลัง ต้นขา หรือบั้นท้าย เพื่อสร้างรูปทรงของเต้านมขึ้นมาใหม่ การผ่าตัดเสริมเนื้อเยื่อจะช่วยทำให้ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น และทำออกมาได้ดูเหมือนเนื้อเยื่อเต้านมธรรมชาติมากกว่าการเสริมเต้านม เช่น อาจมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงเมื่อคนไข้น้ำหนักขึ้นหรือลดลง และระหว่างการเสริมเต้านมด้วยถุงซิลิโคน บางครั้งต้องมีการเปลี่ยนใหม่ (เช่น ถุงนมที่เสริมปริแตก เป็นต้น) ไม่ต้องกังวลกับการผ่าตัดเสริมด้วยเนื้อเยื่อของตัวเอง การผ่าตัดเสริมเนื้อเยื่อทำได้โดยใช้เนื้อเยื่อของตัวเองมาสร้างเต้านมใหม่ แต่การผ่าตัดเสริมเนื้อเยื่อเต้านมบางครั้งก็ควบคู่กับการเสริมเต้านมด้วย
 

แต่การผ่าตัดเสริมเนื้อเยื่อเต้านมก็มีข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งต้องคำนึงดังต่อไปนี้

  • โดยทั่วไป การผ่าตัดเสริมเนื้อเยื่อต้องใช้เวลาในการผ่าตัดมากกว่าและการรักษาที่นานกว่าการเสริมเต้านมด้วยถุงซิลิโคน

  • การผ่าตัดเสริมเนื้อเยื่อจะทิ้งรอยผ่าตัดและรอยแผลเป็นไว้ 2 ที่ หนึ่งคือบริเวณที่เนื้อเยื่อถูกตัดออกไป (บริเวณที่ตัด) เพื่อเอาเนื้อเยื่อมาใช้ และอีกหนึ่งบนเต้านมที่เสริม รอยแผลเป็นจะจางไปตามกาลเวลา แต่จะไม่หายไปจนหมด

  • คนไข้บางรายมีปัญหากับบริเวณเนื้อเยื่อที่จะตัดออกมา เช่น มีไส้เลื่อนตรงหน้าท้อง และมีกล้ามเนื้อที่เสียหายหรืออ่อนแรง

  • เพราะเลือดที่จะมาหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อต้องอาศัยหลอดเลือดที่สุขภาพดี การผ่าตัดเสริมเนื้อเยื่อไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับนักสูบบุหรี่ และส่วนใหญ่คนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ โรคหลอดเลือด (การไหลเวียนของเลือดไม่ดี) หรือโรคระบบเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

รูปแบบของการผ่าตัดเสริมเนื้อเยื่อ

รูปแบบโดยทั่วไปส่วนมากของการผ่าตัดเสริมเนื้อเยื่อมีดังนี้

  • TRAM flap (transverse rectus abdominis muscle flap) จะใช้เนื้อเยื่อจากหน้าท้อง รวมทั้งกล้ามเนื้อหน้าท้องบางส่วน (rectus abdominis)

  • DIEP flap (deep inferior epigastric perforator flap) จะใช้เนื้อเยื่อจากหน้าท้อง

  • Latissimus dorsi flap จะใช้เนื้อเยื่อจากหลังส่วนบน

  • GAP flap (gluteal artery perforator flap หรือ gluteal free flap) จะใช้เนื้อเยื่อจากบั้นท้าย

  • TUG flap (transverse upper gracilis flap) จะใช้เนื้อเยื่อจากต้นขาด้านใน

TRAM flap

การผ่าตัดเสริมเนื้อเยื่อแบบ TRAM flap จะใช้เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อจากท้อง บางครั้งการเสริมเต้านมก็ใช้การผ่าตัดเสริมเนื้อเยื่อรูปแบบนี้ แต่เนื่องจากคนไข้บางรายมีเนื้อเยื่อในบริเวณนี้เพียงพอที่จะใช้ทำรูปทรงของเต้านม ดังนั้นการเสริมเต้านมจึงไม่จำเป็น ผิวหนัง ไขมัน หลอดเลือด และกล้ามเนื้อหน้าท้องอย่างน้อยหนึ่งส่วนจะถูกย้ายจากท้องไปสู่หน้าอก การผ่าตัดเสริมเนื้อเยื่อแบบนี้สามารถทำให้ท้องน้อยกระชับขึ้น เป็นผลจาก “การดึงหน้าท้อง” แต่ยังลดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้องด้วย การผ่าตัดเสริมเนื้อเยื่อวิธีนี้อาจทำไม่ได้กับผู้หญิงที่ผอมมาก ๆ หรือคนที่เคยตัดเนื้อเยื่อหน้าท้องมาก่อน

การผ่าตัดเสริมเนื้อเยื่อแบบ TRAM flap มีรูปแบบที่หลากหลายดังนี้

  • Pedicle TRAM flap รูปแบบนี้จะตัดเนื้อเยื่อโดยที่ยังเชื่อมติดกับหลอดเลือดหล่อเลี้ยงเดิมอยู่มา และจะเจาะช่องใต้ผิวหนังขึ้นมาที่หน้าอก ปกติจะต้องตัดกล้ามเนื้อหน้าท้อง (rectus abdominis) ส่วนมากออกไป ซึ่งหมายความว่าจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นไส้เลื่อตรงตำแหน่ง และยังหมายความว่ากล้ามเนื้อหน้าท้องของคุณอาจไม่แข็งแรงเท่าก่อนที่จะผ่าตัดได้อีกด้วย

  • Free TRAM flap จะย้ายเนื้อเยื่อ (แต่จะใช้กล้ามเนื้อน้อยกว่าปกติ) จากส่วนของท้องน้อยเหมือนกัน แต่มีการตัดเส้นเลือดแดงและดำมาต่อกับเส้นเลือดบริเวณหน้าอกด้วยเทคนิคจุลศัลยกรรม (การผ่าตัดโดยใช้กล้องจุลทรรศน์) เพื่อเชื่อมต่อหลอดเลือดเล็ก ๆ และการผ่าตัดจะใช้เวลานานกว่าแบบ Pedicle TRAM flap แต่เลือดที่จะมาหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อแบบนี้จะดีกว่าแบบ Pedicle TRAM flap เสี่ยงที่จะเสียความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้องน้อยกว่า และบริเวณที่ตัด (หน้าท้อง) มักจะดูดีกว่า ความเสี่ยงหลักคือบางครั้งเลือดที่มาหล่อเลี้ยงจะอุดตันและการเสริมเนื้อเยื่อจะไม่ได้ผล (flap failure)

DIEP flap

DIEP flap จะใช้ไขมันและผิวหนังจากบริเวณเดียวกับ TRAM flap แต่ไม่ใช้กล้ามเนื้อเพื่อทำรูปทรงเต้านม วิธีนี้การตัดเนื้อเยื่อออกมาได้เลยอย่างอิสระ หมายความว่าเนื้อเยื่อจะถูกตัดออกมาจากท้องและย้ายมาที่หน้าอกโดยไม่ได้เอากล้ามเนื้อไปด้วย เสี่ยงที่จะปูดหรือยื่นน้อยกว่า เพราะไม่ได้ถูกตัดกล้ามเนื้อ ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่ใกล้เคียงกัน เรียกว่า SIEA flap (superficial inferior epigastric artery flap) ปกติแล้วจะใช้เนื้อเยื่อบริเวณเดียวกันแต่ใช้หลอดเลือดต่างกัน

Latissimus dorsi flap

Latissimus dorsi flap มักใช้ควบคู่กับการเสริมเต้านม สำหรับวิธีนี้ ศัลยแพทย์จะผ่าตัดกล้ามเนื้อ ไขมัน ผิวหนัง และเส้นเลือดจากหลังส่วนบนของคนไข้ เข้าไปใต้ผิวหนังขึ้นไปที่ด้านหน้าของหน้าอก มีการเพิ่มเนื้อเยื่อส่วนที่ปิดเต้านมที่เสริม และช่วยทำให้ดูเหมือนเต้านมธรรมชาติมากขึ้นกว่าการเสริมเต้านมเพียงอย่างเดียว การทำเต้านมใหม่รูปแบบนี้บางครั้งสามารถทำได้โดยไม่ต้องเสริมเต้านม โดยส่วนน้อยบางรายที่บริเวณหลัง ไหล่ หรือแขนจะอ่อนแรงหลังการผ่าตัดลักษณะนี้

GAP flap (Gluteal free flap)

GAP flap หรือ Gluteal free flap เป็นการผ่าตัดสร้างเต้านมใหม่ที่ใช้เนื้อเยื่อจากบั้นท้าย เพื่อสร้างรูปทรงของเต้านม GAP flap อาจเป็นตัวเลือกสำหรับคนไข้ที่ไม่สามารถหรือไม่อยากใช้บริเวณท้อง เนื่องจากผิวหนังบาง เคยผ่าตัดมาก่อน เคยตัดเนื้อเยื่อหน้าท้องแล้วไม่สามารถใช้การได้ (flap failure) หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ แต่ไม่ใช่ว่าศูนย์ศัลยกรรมทุกแห่งจะสามารถผ่าตัดแบบนี้ วิธีนี้เหมือน free TRAM flap ที่กล่าวไว้ข้างต้นเป็นอย่างมาก ยกเว้นแต่ไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อ โดยที่ผิวหนัง ไขมัน และหลอดเลือดถูกตัดออกจากบั้นท้าย แล้วจะถูกย้ายไปที่ต่อหน้าอก

TUG flap

TUG flap (transverse upper gracilis flap) หรือการผ่าตัดต้นขาด้านใน เป็นทางเลือกใหม่สำหรับคนไข้ที่ไม่สามารถหรือไม่อยากใช้การผ่าตัดแบบ TRAM flap or DIEP flap นี่เป็นการผ่าตัดที่ใช้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่มีไขมันจากบริเวณขาหนีบใต้บั้นท้ายยาวไปถึงต้นขาด้านใน เรียกว่า TUG flap และวิธีนี้ใช้ได้เพียงแค่ในศูนย์รักษาทางการแพทย์บางแห่งเท่านั้น (รวม DRK Beauty Clinic ด้วย) โดยผิวหนัง กล้ามเนื้อ และหลอดเลือดจะถูกตัดออกและย้ายขึ้นไปที่หน้าอก แล้วหลอดเลือดเส้นเล็ก ๆ จะถูกเชื่อมต่อกับเส้นเลือดหล่อเลี้ยงเส้นใหม่
 

โดยคนไข้ส่วยใหญ่มีที่ลักษณะต้นขาผอมจะมีเนื้อเยื่อไม่เพียงพอในส่วนนี้ ดังนั้นบางรายที่เหมาะที่สุดสำหรับการผ่าตัดประเภทนี้คือคนไข้ที่มีต้นขาด้านในติดกัน และบางรายที่ต้องการมีเต้านมขนาดเล็กหรือขนาดกลาง ถ้าคุณมีเต้านมขนาดใหญ่ คนไข้ก็อาจต้องเสริมเต้านมด้วยถุงซิลิโคนด้วย บางครั้งบริเวณเนื้อเยื่อที่ตัดออกมานี้ทำให้เกิดปัญหาการฟื้นตัวช้าเล็กน้อย แต่มีแนวโน้มที่เกิดไม่มากและรักษาหายง่าย

การปลูกถ่ายไขมัน

เทคนิคที่ใหม่นี้สามารถใช้ไขมันของคนไข้จากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย (บั้นท้าย ต้นขา หรือหน้าท้อง) ย้ายมาเติมที่เต้านมที่ทำขึ้นใหม่ เพื่อช่วยแก้ไขรูปร่างที่ผิดปกติซึ่งอาจพบได้หลังการผ่าตัดสร้างเต้านมขั้นแรกเสร็จ ไขมันจะถูกนำออกมาด้วยการดูดไขมัน ทำความสะอาด และจะถูกทำให้เล็กลง (nanofat transfer) เพื่อจะได้ฉีดเข้าไปในบริเวณที่ต้องการได้ง่าย

bottom of page